อนาคตของโลจิสติกส์ในประเทศจีน


Shipping ขนส่งจีน

ขณะนี้จีนกำลังทำอะไรบ้างเพื่อรับประกันประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกที่ใช้ทรัพยากรของจีน และผลักดันให้จีนก้าวสู่มหาอำนาจทางโลจิสติกส์(ชิปปิ้งจีน)
จีนกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมของโลกที่ผลิตเสื้อผ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนสำเร็จรูปมากมายป้อนให้อเมริกาเหนือ ยุโรป และชาติอื่นๆ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนจะรับมือกับการเติบโตที่ต่อเนื่องและรวดเร็วนี้ได้อย่างไร และคำถามที่สำคัญกว่าคือ ขณะนี้จีนกำลังทำอะไรบ้างเพื่อรับประกันประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเครือข่ายซัพพลายเชนทั่วโลกที่ใช้ทรัพยากรของจีน และผลักดันให้จีนก้าวสู่มหาอำนาจทางโลจิสติกส์(ชิปปิ้งจีน)

ความสำเร็จอันใหญ่หลวงของจีนใช่ว่าจะได้มาโดยง่าย จากข้อมูลของสมาพันธ์โลจิสติกส์และการ จัดซื้อของจีน (China Federation of Logistics and Purchasing) ต้นทุนด้านโลจิสติกส์คิดเป็นร้อย ละ 18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งสูงกว่าระดับสูงสุดของประเทศที่พัฒนา แล้วถึงสองเท่า ภาระทางภาษี ค่าผ่านทางที่แพง และการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดโลจิสติกส์ คือ เหตุผลที่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์สูงลิ่ว อันที่จริงสิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต ของประเทศคือการย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เนื่องจากค่าใช้จ่าย ของจีนโดยเฉพาะค่าแรงของคนงานกำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงกระนั้น โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิ สติกส์ของจีนก็ได้รับการปรับปรุงขึ้นอย่างมากระหว่างแผนพัฒนาประเทศห้าปีฉบับที่ 11 (ปีพ.ศ. 2549 – 2553) จีนยอมรับว่าแรงงานทางเศรษฐกิจอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะรับประกันการเติบโต ในระยะยาว จึงเพิ่มการลงทุนในการก่อสร้างสาธารณูปโภคทั้งทางด่วน ทางรถไฟ และเส้นทาง คมนาคมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ความขาดแคลนด้านโลจิสติกส์ก็ยังปรากฏให้เห็น ยกตัวอย่างเช่น ขาดสิ่ง อำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้า เครือข่ายถนนและเส้นทางรถไฟโดยเฉพาะในมณฑลทาง ตะวันตกที่ยังไม่พัฒนา นี่คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลของจีน 

แนวโน้มและการพัฒนาในด้านโลจิสติกส์ เห็นชัดว่าจีนได้คิดวางแผนล่วงหน้าแล้ว นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า ประกาศเมื่อ 18 มิถุนายน 2554 ว่า “เราต้องจัดทำนโยบายและมาตรการต่างๆ ให้เสร็จสมบูรณ์ และส่งเสริมการพัฒนาที่ดีของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์” ผลที่ได้คือแผนปรับปรุงโลจิสติกส์ที่รู้จักกันในชื่อ ข้อบังคับแห่งชาติแปดประการ (Eight State Regulations)